เมนู

ด้วยเป็นสมาบัติด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่า มหากรุณาสมาบัติ. ในมหากรุณา
สมาบัตินั้น, ญาณอันสัมปยุตกับด้วยมหากรุณาสมาบัตินั้น.

72 - 73. อรรถกถาสัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณุทเทส


ว่าด้วย สัพพัญญุตญาณอนาวรณญาณ


พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สพฺพญฺญุตญาณํ อนาวรณญาณํ-
ญาณเป็นเครื่องรู้ธรรมทั้งปวง ญาณอันไม่มีอะไรติดขัด
นี้ ดังต่อ
ไปนี้
พระพุทธะพระองค์ใด ทรงรู้ธรรมทั้งปวงมีประเภทแห่งคลอง
อันจะพึงแนะนำ 5 ประการ ฉะนั้น พระพุทธะพระองค์นั้น ชื่อว่า
สัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวง, ความเป็นแห่งพระสัพพัญญู ชื่อว่า
สัพพัญญุตา, ญาณคือพระสัพพัญญุตาญาณนั้น ควรกล่าวว่า สัพพัญญุ-
ตาญาณ
ท่านก็กล่าวเสียว่า สัพพัญญุตญาณ. จริงอยู่ ธรรมทั้งปวง
ต่างโดยเป็นสังขตธรรมเป็นต้น เป็นครรลองธรรมที่จะพึงแนะนำมี
5 อย่าง1เท่านั้น คือ สังขาร 1, วิการ 1, ลักขณะ 1. นิพพาน 1
และ บัญญัติ 1.
1. ในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา เรียกธรรม 5 มีสังขารเป็นต้น นี้ว่า ไญยธรรม.

คำว่า สพฺพญฺญู - รู้ธรรมทั้งปวง ความว่า สัพพัญญูมี 5
อย่างคือ
1. กมสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงตามลำดับ,
2. สกิงสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงในคราวเดียวกัน,
3. สตตสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงติดต่อกันไป,
4. สัตติสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงด้วยความสามารถ.
5. ญาตสัพพัญญู - รู้ธรรมทั้งปวงที่รู้แล้ว.
กมสัพพัญญุตา ย่อมมีไม่ได้ เพราะกาลเป็นที่รู้ธรรมทั้งปวงไม่
เกิดขึ้น ตามลำดับ,
สกิงสัพพัญญุตา ก็มีไม่ได้ เพราะไม่มีการรับอารมณ์ทั้งปวงได้
ในคราวเดียวกัน,
สัตตสัพพัญญุตา ก็มีไม่ได้ เพราะความเกิดขึ้นแห่งจิตในอารมณ์
ตามสมควรแก่จิต มีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้น และเพราะไม่มีการประ-
กอบในภวังคจิต,
สัตติสัพพัญญุตา พึงมีได้ เพราะสามารถรู้ธรรมทั้งปวงโดยการ
แสวงหา,
ญาตสัพพัญญุตา ก็พึงมีได้ เพราะธรรมทั้งปวงรู้แจ่มแจ้งแล้ว.
ข้อว่า ความรู้ธรรมทั้งปวงไม่มีในสัตติสัพพัญญุตาแม้นั้นย่อมไม่
ถูกต้อง. เพราะท่านกล่าวไว้ว่า

อะไร ๆ อันพระตถาคตเจ้านั้นไม่เห็นแล้วไม่
มีในโลกนี้ อนึ่ง อะไร ๆ ที่ไม่รู้แจ้งและไม่ควรรู้
ก็ไม่มี, สิ่งใดที่ควรแนะนำมีอยู่ พระตถาคตเจ้า
ได้รู้ธรรมทั้งหมดนั้นแล้ว เพราะเหตุนั้น พระตถา-
คตเจ้าจึงชื่อว่า สมันตจักขุ1.

ฉะนั้น ญาตสัพพัญญุตาเท่านั้น ย่อมถูกต้อง. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้
สัพพัญญุตญาณนั่นแล ย่อมมีได้โดยกิจ โดยอสัมโมหะ โดยการสำเร็จ
แห่งเหตุ โดยเนื่องกับอาวัชชนะ ด้วยประการฉะนี้. อารมณ์เป็น
เครื่องกั้นญาณนั้นไม่มี เป็นญาณที่เนื่องด้วยอาวัชชนะนั่นเอง ฉะนั้น
ญาณนั้นจึงชื่อว่า อนาวรณะ - ไม่มีการติดขัด, อนาวรณะ นั้นนั่น
แหละ ท่านเรียกว่า อนาวรณญาณ ด้วยประการฉะนี้.
คำว่า อิมานิ เตสตฺตติ ญาณานิ - ญาณ 73 เหล่านี้ ความ
ว่า ญาณทั้ง 73 เหล่านี้ ท่านยกขึ้นแสดงด้วยสามารถแห่งญาณอันทั่ว
ไปและไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย.
คำว่า อิเมสํ เตสตฺตติยา ญาณานํ - แห่งญาณ 73 เหล่านี้
ความว่า แห่งญาณทั้งหลาย 73 ญาณเหล่านี้อันท่านกล่าวแล้ว ตั้งแต่
1. ขุ. มหา. 24/727.

ต้น. ก็คำนี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถว่าเป็นกลุ่ม. ปาฐะว่า เตสตฺ-
ตตีนํ
ดังนี้ก็มี. เมื่อกล่าวว่า เตสตฺตติยา พึงทราบว่าเป็นพหุวจนะ
ในรูปเอกวจนะ
คำว่า สตฺตสฏฺฐิ ญาณานิ - ญาณ 67 ได้แก่ ญาณ 67
นับตั้งแต่ต้นมา.
คำว่า สาวกสาธารณานิ - ทั่วไปแก่พระสาวก ความว่า
ชื่อว่า สาวก เพราะเกิดโดยชาติแห่งอริยะในที่สุดแห่งการฟัง, ชื่อว่า
สาธารณะ เพราะการทรงไว้มีอยู่แก่ญาณเหล่านั้น, ญาณ 67 นั้น
เป็นญาณที่ทั่วไปแก่พระสาวกของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า สาวก-
สาธารณะ
- ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย.
คำว่า ฉ ญาณานิ - ญาณ 6 ได้แก่ 6 ญาณที่ท่านยกขึ้น
แสดงในที่สุด.
คำว่า อสาธารณานิ สาวเกหิ - ไม่ทั่วไปแก่พระสาวก
ความว่า ญาณทั้งหลาย 6 ญาณ เฉพาะของพระตถาคตเจ้าทั้งหลาย
ไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย ฉะนี้แล.
อรรถกถาญาณกถามาติกุทเทส
ในอรรถกถาปฏิสัมภิทามรรค ชื่อสัทธัมมปกาสินี จบ

มหาวรรค ญาณกถา
ว่าด้วย ความหมายของปัญญาญาณ


[1] ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว เป็นสุตมยญาณ
อย่างไร ?
ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว คือเครื่องรู้ชัด
ธรรมที่สดับมาแล้วนั้นว่า อิเม ธมฺมา อภิญฺเญยฺยา ธรรมเหล่านี้ควร
รู้ยิ่งเป็นสุตมยญาณ, ปัญญาอันเป็นเครื่องทรงจำธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว
คือเครื่องรู้ชัดธรรมที่สดับมาแล้วนั้นว่า อิเม ธมฺมา ปริญฺเญยฺยา
ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้... อิเม ธมฺมา ปหาตพฺพา ธรรมเหล่านี้
ควรละ... อิเม ธมฺมา ภาเวตพฺพา ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ ...
ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง... ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความ
เสื่อม ... ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความตั้งอยู่ ... ธรรมเหล่านี้
เป็นไปในส่วนแห่งคุณวิเศษ ... ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งการ
ชำแรกกิเลส... สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง . . . สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ...
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... นี้ทุกขอริยสัจ ... นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ...
นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (แต่ละอย่าง)
เป็นสุตมยญาณ.